มหาบุรุษลักษณะ

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย paang, 6 ธันวาคม 2005.

  1. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,329
    [​IMG]

    คำว่า มหาบุรุษลักษณะ หรือเขียนตามรูปศัพท์บาลีเป็น มหาปุริสสลักขณะ หมายถึงลักษณะสำคัญของบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ คือ พระพุทธเจ้า มีกล่าวถึงในคัมภีร์โบราณ มหาปทานสุต ทีฆนิกาย มหาวรรค แสดงลักษณะที่ดีของบุคคลผู้ยิ่งใหญ่ มี ๓๒ ประการ ซึ่งเป็นคติที่ช่างศิลปกรรมโบราณนับแต่ในประเทศอินเดียจนถึงประเทศไทย ใช้เป็นแนวทางในการสร้างสรรค์ผลงานด้านปฏิมากรรม โดยเฉพาะในการสร้างพระพุทธรูป ทั้งนี้เพราะเชื่อว่า มหาปุริสลักขณะ ๓๒ ประการนี้เป็นพระพุทธลักษณะ โดยนำลักษณะดังกล่าวมาเป็นหลัก และประดิษฐ์แต่งให้งดงามตามแนวศิลปะนิยมของแต่ละชาติด้วย
    <?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p> </O:p>
    มหาปุริสลักขณะ หรือ มหาบุรุษลักษณะ มี ๓๒ ประการ ดังนี้<O:p> </O:p>
    <O:p></O:p>
    ๑.
    ฝ่าเท้าตั้งแนบสนิทดี
    <O:p> </O:p>
    ๒.
    ในฝ่าเท้ามีจักรลักษณะ
    <O:p> </O:p>
    ๓.
    ส้นเท้ายาว
    <O:p> </O:p>
    ๔.
    นิ้วมือนิ้วเท้ายาว
    <O:p> </O:p>
    ๕.
    ฝ่ามือฝ่าเท้าอ่อนนุ่ม
    <O:p> </O:p>
    ๖.
    มีลายตาข่ายในฝ่ามือฝ่าเท้า
    <O:p> </O:p>
    ๗.
    ข้อเท้าเหมือนสังข์ที่ตั้งขึ้น
    <O:p> </O:p>
    ๘.
    แข้งเหมือนแข้งเนื้อทราย
    <O:p> </O:p>
    ๙.
    ยืนตัวตรง ไม่โค้งลำตัว จะใช้ฝ่ามือลูบได้ถึงเข่า
    <O:p> </O:p>
    ๑๐.
    องคชาติซ่อนอยู่ในฝัก
    <O:p> </O:p>
    ๑๑.
    ผิวมีสีดุจทองคำ
    <O:p> </O:p>
    ๑๒.
    ผิวหนังละเอียด
    <O:p> </O:p>
    ๑๓.
    ขนมีขุมละเส้น
    <O:p> </O:p>
    ๑๔.
    ปลายเส้นขนชูชันขึ้น
    <O:p> </O:p>
    ๑๕.
    ลำตัวตั้งตรงดุจลำตัวของพรหม
    <O:p> </O:p>
    ๑๖.
    มีความนูน ๗ แห่ง ในร่างกายคือ หลังมือ ๒ หลังเท้า ๒ บ่า ๒ และ คอ ๑
    <O:p> </O:p>
    ๑๗.
    ร่างกายตอนบนดุจลำตัวตอนหน้าของราชสีห์
    <O:p> </O:p>
    ๑๘.
    เบื้องหลัง ตั้งแต่สะเอวถึงคอ มีเนื้อเต็มบริบูรณ์
    <O:p> </O:p>
    ๑๙.
    มีปริมณฑลดุจปริมณฑลของต้นไทร
    <O:p> </O:p>
    ๒๐.
    ลำคอกลม
    <O:p> </O:p>
    ๒๑.
    เส้นประสาทรับรสสัมผัสดีเลิศ
    <O:p> </O:p>
    ๒๒.
    คางเหมือนคางราชสีห์
    <O:p> </O:p>
    ๒๓.
    มีฟัน ๔๐ ซี่
    <O:p> </O:p>
    ๒๔.
    ฟันเรียบเสมอกัน
    <O:p> </O:p>
    ๒๕.
    ซี่ฟันชิดสนิทกัน
    <O:p> </O:p>
    ๒๖.
    เขี้ยวขาวสะอาด
    <O:p> </O:p>
    ๒๗.
    ลิ้นอ่อน ยาว และกว้าง
    <O:p> </O:p>
    ๒๘.
    เสียงไพเราะ ดุจเสียงพรหม
    <O:p> </O:p>
    ๒๙.
    ดวงตาดำสนิท
    <O:p> </O:p>
    ๓๐.
    ตาแจ่มใสดุจตาลูกโค
    <O:p> </O:p>
    ๓๑.
    มีขนอ่อนระหว่างคิ้ว ที่เรียกว่า อุณาโลม
    <O:p> </O:p>
    ๓๒.
    ศีรษะเป็นรูปอุณหิส คือมีรูปเหมือนผ้าโพกหรือสวมมงกุฎ<O:p> </O:p>

    <O:p></O:p>
    ช่างศิลปกรรม จะนำมหาปุริสลักขณะ มาแสดงไว้ในพระพุทธรูปที่ตนสร้างสรรค์ขึ้น ดังนั้น เราจึงมักเห็นลักษณะของพระพุทธรูปแตกต่างไปจากลักษณะของคนธรรมดา เช่น ช่างสร้างนิ้วมือนิ้วเท้ายาวเท่ากัน เป็นต้น<O:p> </O:p>
    <O:p></O:p>
    ในคัมภีร์พฤหัตสังหิตาของวราหมิถิระ ซึ่ง ศาสตราจารย์ ร.ต.ท.แสง มนวิทูร แปล ชื่อเรื่องในภาษาไทยว่า ลักษณะของบุรุษสตรีและประติมา กรมศิลปากรจัดพิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.๒๕๐๔ ก็ได้กล่าวถึงลักษณะมหาบุรุษในการสร้างพระพุทธรูปไว้ด้วยเช่นกัน<O:p> </O:p>
    <O:p></O:p>
    (ข้อมูล : กรมศิลปากร-พระพุทธรูปสำคัญ,๒๕๔๓ หน้า ๒๐-๒๑)
     

แชร์หน้านี้

Loading...